สมุดเบาใจ
เครื่องมือทบทวนคุณค่าความหมายในชีวิต
เพื่อการวางแผนสุขภาพในระยะท้าย

องค์กร คือชุมชนที่มีชีวิต องค์กรที่ขึ้นชื่อว่าประสบความสำเร็จ นอกจากจะสามารถบรรลุเป้าหมายการทำงานแล้ว ย่อมสนับสนุนให้บุคลากรบรรลุความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีอีกด้วย

ขณะนี้ สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย บุคลากรในองค์กรจึงอาจเป็นหนึ่งในผู้ดูแลผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเรื้อรัง หรือไม่ก็กำลังก้าวเข้าสู่วัยสูงอายุ โครงการชุมชนกรุณาฯ โดยกลุ่ม Peaceful Death เห็นว่าการให้ “ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนสุขภาพล่วงหน้า และการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง” กับผู้ที่กำลังเผชิญความเจ็บป่วยในครอบครัวมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้มีทางเลือกในการตัดสินใจดูแลครอบครัว มีความพร้อมรับมือกับความไม่แน่นอนของชีวิต เพื่อสามารถประคับประคองชีวิตผ่านวิกฤตอย่างมีสติ


ความรู้ดังกล่าวได้บรรจุไว้ในเครื่องมือสื่อสารและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เรียบง่ายและใช้เวลาไม่นาน ในชื่อ “สมุดเบาใจ”

  • สมุดเบาใจ เป็นเครื่องมือทบทวนคุณค่าและความหมายของชีวิต ทำให้เห็นคุณค่าของสิ่งที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • สมุดเบาใจ เป็นเครื่องมือแสดงเจตนาในภาวะวิกฤติของชีวิต ทำให้เกิดความพร้อมรับมือความไม่แน่นอนของชีวิต
  • สมุดเบาใจ เป็นเครื่องมือสร้างความตระหนักเรื่องการวางแผนดูแลสุขภาพในช่วงท้ายของชีวิต และการเตรียมตัวรับมือกับการจากไปของตนเองและคนที่เรารัก
  • สมุดเบาใจ เป็นเครื่องมือชวนคิด ชวนคุยกับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง
  • สมุดเบาใจ จึงเปรียบเหมือนวัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันความทุกข์จากความพลัดพรากสูญเสีย

หากท่านมีบทบาทในการดูแลคุณภาพชีวิตของบุคลากรในองค์กร หรือชุมชนคนทำงานของท่าน เช่น ผู้จัดการ ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายสนับสนุนการเรียนรู้ ชมรมดูแลสุขภาพ ฯลฯ โครงการชุมชนกรุณา ยินดีให้คำปรึกษา จัดกิจกรรมฝึกอบรมการเขียนสมุดเบาใจ ในเวลาที่บุคลากรและบริษัทของท่านสะดวก เราเชื่อว่าการอบรมการเขียน “สมุดเบาใจ” จะนำพาให้บุคลากรของท่านมีตัวช่วยเมื่อเกิดความไม่แน่นอนของชีวิต สามารถรับมือกับวิกฤติได้อย่างไม่ลำบากเกินไปนัก

โครงการชุมชนกรุณาฯ หวังว่าจะได้ร่วมงานกับชุมชนของท่านในการพัฒนาหลักสูตร จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ให้ตอบสนองความต้องการของบุคลากรและองค์กรของท่านไปพร้อมๆ กับการยกระดับการดูแลสุขภาพช่วงท้ายของสังคมไทยไปพร้อมกัน

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการอบรมสมุดเบาใจ

  • บุคลากรในองค์กรมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง การวางแผนสุขภาพล่วงหน้า ผ่านการเขียนสมุดเบาใจ
  • บุคลากรมีทางเลือกในการดูแลสุขภาพผู้สูงวัย ผู้ป่วยเรื้อรัง และระยะท้ายในครอบครัว นำมาซึ่งการลดความเครียดความกังวลในครอบครัว มีคุณภาพชีวิตที่ดี เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากขึ้น
  • บุคลากรเกิดความรู้สึกที่ดีต่อองค์กรที่ห่วงใยคุณภาพชีวิตของบุคลากรและครอบครัว

เนื้อหาในการอบรม สมุดเบาใจ

  1. การวางแผนดูแลสุขภาพล่วงหน้า ผ่านการเขียนสมุดเบาใจ
  2. การดูแลแบบประคับประคอง
  3. ทางเลือกในการรักษาในวาระสุดท้ายของชีวิตและการรักษาที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
  4. ทัศนคติและท่าทีต่อชีวิตและการพลัดพรากสูญเสีย

กระบวนการอบรม

  • บรรยาย ประกอบสื่อ
  • อภิปรายกลุ่ม
  • กิจกรรมเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง

การฝึกอบรมเหมาะกับ

  • บุคลากรที่เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้ป่วยระยะท้ายในครอบครัว
  • บุคลากรที่ประสบความเจ็บป่วย
  • บุคลากรที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
  • บุคลากรที่สนใจความรู้ด้านการดูแลสุขภาพช่วงท้ายและการจากไปด้วยดี

ระยะเวลาการอบรมและการสมทบทุนวิทากรฝึกอบรม

  • ท่านสามารถเลือกระยะเวลาในการจัดอบรมตามความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ
  • ท่านผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งละไม่เกิน 30 คน
  • การฝึกอบรมมีทีมงานประกอบด้วย
    • วิทยากร 1 คน สำหรับการอบรม 1 ชม. และ 2 ชม.
    • วิทยากรหลัก 1 คน ผู้ช่วยวิทยากร 1 คน สำหรับการอบรม 3 ชม. 6 ชม. และออนไลน์

สนใจสอบถามการจัดกิจกรรม สมุดเบาใจฯ และขอรายละเอียดหลักสูตรการอบรมเพิ่มเติมติดต่อ

คุณเจนจิรา โลชา(เจน) 089-662-0088 อีเมล jhappyberry@gmail.com


เกี่ยวกับสมุดเบาใจ

สมุดเบาใจ คือ เครื่องมือวางแผนดูแลล่วงหน้า และเป็นรูปแบบหนึ่งของเอกสารแสดงเจตนาล่วงหน้าเกี่ยวกับสุขภาพช่วงสุดท้าย และการตายดี หรือ Living will ตาม พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12

สมุดเบาใจ เป็นเครื่องมือช่วยสํารวจความต้องการเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ เมื่อท่านเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของชีวิต ทั้งยังช่วยวางแผนและสื่อสารความต้องการของท่านให้ครอบครัวและทีมสุขภาพได้รับรู้ พวกเขาจะได้ไม่ต้องเดาใจในกรณีที่ท่านประสบภาวะวิกฤตในช่วงสุดท้าย อีกทั้งยังช่วยลดข้อขัดแย้งในหมู่ญาติและทีมแพทย์ผู้ให้การรักษาดูแลอีกด้วย

สมุดเบาใจจะให้ความรู้ในประเด็นการดูแลสุขภาพช่วงสุดท้ายและวางแผนการดูแลรักษาล่วงหน้า การดูแลความสุขสบาย การเลือกผู้แทนการตัดสินใจด้านสุขภาพ การจัดการร่างกายและงานศพ

เพียงทำเครื่องหมายถูกหน้าข้อความ หรือเติมคำในช่องว่าง จากนั้น ลงลายเซ็นกำกับในตอนท้ายของสมุด ก็จะได้เอกสารต้นฉบับ สำหรับสื่อสารเจตนาของท่าน เพื่อให้ท่านเบาใจไปเปราะหนึ่ง

เกี่ยวกับโครงการชุมชนกรุณา

เพราะการเผชิญความสูญเสียเป็นประสบการณ์ครั้งสำคัญของชีวิต หน้าที่การดูแลผู้ป่วยระยะท้ายและการตายดี จึงไม่อาจจำกัดเพียงครอบครัว บุคลากรสาธารณสุข เท่านั้น หากเป็นความรับผิดชอบของทุกคน

แม้จะไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ แต่เราทุกคนสามารถมีส่วนช่วยเหลือได้ตามความศักยภาพ ความสามารถ และบทบาทหน้าที่ที่เป็นอยู่ ขอเพียงมีความกรุณา เห็นอกเห็นใจผู้ที่กำลังเผชิญความสูญเสีย แม้การช่วยเหลือเพียงเล็กน้อย อาจส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมาก

ชุมชนกรุณา คือแนวทางการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ให้สามารถดูแลผู้เผชิญความสูญเสีย ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และผู้ดูแล โดยเน้นการป้องกันความทุกข์ การบรรเทาความรุนแรง และการเยียวยาฟื้นฟู ผ่านการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคสุขภาพและภาคสังคม การทำงานโดยวิเคราะห์ระบบนิเวศในชุมชน

การขับเคลื่อนชุมชนกรุณา สามารถทำงานให้ความช่วยเหลือในหลายระดับ ตั้งแต่ระดับบุคคล ระดับกลุ่มองค์กร ระดับโครงสร้างนโยบาย หรือในระดับวัฒนธรรมของสังคม

โครงการชุมชนกรุณาฯ ดำเนินงานโดย กลุ่ม Peaceful Death ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.peacefuldeath.co/compassionatecommunities

[seed_social]